วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โลกของเรา

               




โลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวดิ่งจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ประมาณ 12,711 กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนเล็กน้อย เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนประมาณ 12,755 กิโลเมตร


            

ลักษณะพื้นผิวนอกของโลกในที่ต่าง ๆจะมีลักษณะแตกต่างกันมีทั้งพื้นดิน พื้นน้ำ ภูเขา และป่าทึบ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีมากที่สุด ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนหรือ 71 % และเป็นพื้นดินประมาณ 1 ใน 4 ส่วนหรือ 29 % ของพื้นผิวโลก


โครงสร้างของโลก



1.1)เปลือกโลกส่วนบนหรือเปลือกทวีป (Continental crust) ส่วนใหญ่เป็นหินไซอัล ( Sial) ซึ่งเป็นหินแกรนิตของเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป ส่วนใหญ่ประกอบด้วยซิลิกา ( Silica ) กับอะลูมินา ( Alumina ) มีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
1.2)เปลือกโลกส่วนล่างหรือเปลือกสมุทร (Oceanic crust)   ส่วนใหญ่เป็นหินไซมา ( Sima ) ซึ่งเป็นหินบะซอลต์อยุ่ตามเปลือกโลกในส่วนที่เป็นท้องมหาสมุทรและรองอยู่ใต้ชั้นหินไซอัลประกอบด้วยสารซิลิกา (Silica) กับแมกนีเซีย( Magnesia) ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (มากกว่าเปลือกทวีป)
- แผ่นยูเรเชีย รองรับทวีปเอเชียและทวีปยุโรป รวมทั้งพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
- แผ่นอเมริกา รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
- แผ่นแปซิฟิก รองรับมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด
- แผ่นอินเดียออสเตรเลีย รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศทั้งสอง
- แผ่นแอนตาร์กติก รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
- แผ่นแอฟริกา รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบ ๆ ทวีปนี้
นอกจากนั้นยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ที่รองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น


2.แมนเทิล
         แมนเทิล (Mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลว เรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 2,000°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

3.แก่นโลก
         ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (Core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่น ตะกั่ว และ ยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบบได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่

          3.1แก่นโลกชั้นนอก (Outer core) มีความหนาประมาณ 2,500 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง

3.2แก่นโลกชั้นใน (Inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 5,000°C และมีความกดดันมหาศาล ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น