วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สรุปสูตรฟิสิกส์ม.4






สรุปสูตรฟิสิกส์ม.4 ..การเคลื่อนที่แนวตรง....


                 ช่วงนี้หลายๆโรงเรียนกำลังสอบกลางภาคเรียนเทอมแรก สรุปนี้คงจะช่วยเป็นอาวุธให้น้องๆได้นำไปใช้ตะลุยข้อสอบได้บ้างไม่มากก็น้อย



  เครดิต... Supicha Onkhong

วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

โลกของเรา

               




โลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวดิ่งจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ประมาณ 12,711 กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนเล็กน้อย เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนประมาณ 12,755 กิโลเมตร


            

ลักษณะพื้นผิวนอกของโลกในที่ต่าง ๆจะมีลักษณะแตกต่างกันมีทั้งพื้นดิน พื้นน้ำ ภูเขา และป่าทึบ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีมากที่สุด ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนหรือ 71 % และเป็นพื้นดินประมาณ 1 ใน 4 ส่วนหรือ 29 % ของพื้นผิวโลก


โครงสร้างของโลก



1.1)เปลือกโลกส่วนบนหรือเปลือกทวีป (Continental crust) ส่วนใหญ่เป็นหินไซอัล ( Sial) ซึ่งเป็นหินแกรนิตของเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป ส่วนใหญ่ประกอบด้วยซิลิกา ( Silica ) กับอะลูมินา ( Alumina ) มีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
1.2)เปลือกโลกส่วนล่างหรือเปลือกสมุทร (Oceanic crust)   ส่วนใหญ่เป็นหินไซมา ( Sima ) ซึ่งเป็นหินบะซอลต์อยุ่ตามเปลือกโลกในส่วนที่เป็นท้องมหาสมุทรและรองอยู่ใต้ชั้นหินไซอัลประกอบด้วยสารซิลิกา (Silica) กับแมกนีเซีย( Magnesia) ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (มากกว่าเปลือกทวีป)
- แผ่นยูเรเชีย รองรับทวีปเอเชียและทวีปยุโรป รวมทั้งพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
- แผ่นอเมริกา รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
- แผ่นแปซิฟิก รองรับมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด
- แผ่นอินเดียออสเตรเลีย รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศทั้งสอง
- แผ่นแอนตาร์กติก รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
- แผ่นแอฟริกา รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบ ๆ ทวีปนี้
นอกจากนั้นยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ที่รองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น


2.แมนเทิล
         แมนเทิล (Mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลว เรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 2,000°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

3.แก่นโลก
         ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (Core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่น ตะกั่ว และ ยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบบได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่

          3.1แก่นโลกชั้นนอก (Outer core) มีความหนาประมาณ 2,500 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง

3.2แก่นโลกชั้นใน (Inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 5,000°C และมีความกดดันมหาศาล ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ 

โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ????


       "ปัญหาที่ว่าโลกเรานี้มาจากไหนหรือเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงได้ค้นหาคำตอบจากการกำเนิดของระบบสุริยะจักรวาล"

  

             ผลจากการศึกษาพบว่า โลก เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของระบบสุริยะจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System) เป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก (The Milky Way) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 8 ดวง (พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน) ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย อุกกาบาต ดาวหาง ฝุ่นละอองและกลุ่มก๊าซ โดยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ และสิ่งต่างๆ ในระบบจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ภายใต้แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์


ใครยังไม่เห็นภาพ.....ลองเปิดวีดีโอนี้ดู


วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

คานและโมเมนต์ ม.3

โมเมนต์และคาน
 โมเมนต์ (Moment,M)
โมเมนต์ คือ ผลหมุนของแรงรอบจุดหมุน เป็นปริมาณเวกเตอร์ โดยกำหนดให้โมเมนต์มี 2 ทิศ
คือ ทิศตามเข็มนาฬิกา และทิศทวนเข็มนาฬิกา

โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนมายังแนวแรง....................
                          M    =    F  x    L     มีหน่วยเป็น  N.m

                






  โมเมนต์ของแรงที่ผ่านจุดหมุน = 0

โมเมนต์ทวน = โมเมนต์ตาม


     F1 x L1 = F2 x L2